ตำนานสามก๊กในประเทศไทยนั้นสันนิษฐานว่ากะลาสีชาวจีนนำเข้ามาเผยแพร่ในสมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่มีหลักฐานปรากฎว่าว่าเมื่อรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มี พระราชดำรัสให้แปลหนังสือพงศาวดารจีน 2 เรื่อง คือ เรื่องไซฮั่น 1 เรื่องสามก๊ก 1 โปรดให้ สมเด็จฯ กรมพระราชวังหลัง อำนวยการแปลเรื่องไซฮั่น และให้เจ้าพระยาพระคลัง(หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก เป็นหนังสือ 95 เล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์พิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2408 เป็นจำนวน 4 เล่มสมุดไทย
สามก๊กในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ลักษณะการแปลหนังสือจีนเป็นภาษาไทยแต่โบราณค่อนข้างลำบาก ด้วยผู้รู้ภาษาจีนไม่ชำนาญเรื่อง ภาษาไทย ผู้ชำนาญด้านภาษาไทยก็ไม่มีใครรู้ภาษาจีน การแปลทั้งสองฝ่ายต้องแปลร่วมกัน ฝ่ายผู้ชำนาญจีน แปลความออกให้เสมียนจดลงแล้วผู้ชำนาญภาษาไทยเอาความนั้นเรียบเรียงเป็นภาษา ไทย ให้ถ้อยคำแล สำนวนความเรียบร้อยอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้เรื่องสามก๊ก มีสำนวนเรียบร้อยสม่ำเสมออ่านเข้าใจง่าย มากกว่า เล่มอื่น แต่ตั้งแต่เล่มที่ 55 เป็นเรื่องสำนวนหนึ่งไม่เหมือนเดิม ซึ่งทำให้สามก๊กแบ่งเป็น 2 สำนวน ซึ่งบางที อ่านแล้วขัดแย้งกัน น่าสันนิษฐานว่าเจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลอยู่ไม่ทันตลอดเรื่อง ถึง อสัญกรรมก่อน มีผู้อื่นอำนวยการแปลต่อมา สำนวนจึงผิดกันไป
การแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยผิดกับแปลภาษาอื่น ๆ ด้วยจีนต่างเหล่าอ่านหนังสือจีนสำเนียงผิดกัน จะยกตัวอย่างดังนี้
ราชอาณาเขตของพระเจ้าโจผีจีนกลางเรียก ไวโกวะ จีนฮกเกี้ยนเรียก วุยก๊ก จีนแต้จิ๋วเรียก งุ่ยก๊ก จีนกวางตุ้งเรียก ง่ายโกะ จีนไหหลำเรียก หงุ่ยก๊ก